หลักสูตรที่เปิดสอน
  » หลักสูตรที่เปิดสอน
 คอร์สเรียนแบ่งตามระดับชั้น
  » ระดับอนุบาล
  » ระดับประถมศึกษา
  » ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  » ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  » ระดับบุคคลทั่วไป/ระดับมหาวิทยาลัย
 คอร์สเรียนแบ่งตามรายวิชา
  » เชาวน์ปัญญา (ระดับอนุบาล)
  » คณิตศาสตร์
  » วิทยาศาสตร์
  » ฟิสิกส์
  » เคมี
  » ชีวะ
  » ภาษาอังกฤษ
  » ภาษาไทย
  » สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม
  » ศิลปะ
  » คอมพิวเตอร์ (ระบบสารสนเทศ)
  » การบ้านทั่วไป
 อยากเรียนภาษา
  » ภาษาฝรั่งเศส
  » ภาษาเยอรมัน
  » ภาษาญี่ปุ่น
  » ภาษาอาหรับ
  » ภาษาจีน
  » ภาษาบาลี
  » ภาษาเกาหลี
  » ภาษาอังกฤษเพื่อสนทนา
  » ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
  » ภาษาอื่นๆ
 ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
  » IGCSE
  » Ged
  » O-Net
  » GAT/PAT
  » SAT
  » CU-TEP
  » CU-ATT
  » TOEFL
  » IELTS
  » TOEIC
วันนี้ 52
เมื่อวาน 117
สัปดาห์นี้ 341
สัปดาห์ก่อน 758
เดือนนี้ 2,447
เดือนก่อน 3,582
ทั้งหมด 159,110
  Your IP :3.144.28.50

SAT

 

 

SAT คืออะไร

ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าใครก็ตามที่อยากสมัครเรียนในหลักสูตรนานาชาติไม่ว่าจะเป็นที่จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล หรือสถาบันอื่นๆจะต้องสอบ SAT กันแทบทุกคน วันนี้เราจะมาดูกันว่าข้อสอบที่บางคนเรียกว่า “แซท” หรือบางคนเรียกว่า “เอส เอ ที” นั้นคืออะไรกันแน่และทำไมหลักสูตรนานาชาติเกือบทุกแห่งถึงพร้อมใจกันรับผลสอบนี้กันนัก

 

จุดกำเนิดของ SAT

ในปีค.ศ. 1901 องค์กรที่เรียกว่า College Board ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้สร้างข้อสอบ SAT ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เหตุผลนั้นก็คือมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการคัดเลือกนักศึกษาใหม่ในแต่ละปีเพราะเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะการที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก มหาวิทยาลัย ที่มีชื่อเสียงมักมีนักเรียนยื่นใบสมัครเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก แถมแต่ละคนก็ดูท่าทางเรียนเก่งกันหมดเพราะ GPA ในระดับมัธยมปลายก็สูงๆกันทั้งนั้น ไม่รู้จะเลือกใครดี (ในความเป็นจริง มาตรฐานการศึกษาในแต่ละรัฐนั้นไม่เท่ากัน การใช้ GPA คัดเลือกนั้น จึงไม่ยุติธรรม) ครั้นจะจัดสอบเพื่อทำการคัดเลือกก็ลำบาก ไหนจะต้องออกข้อสอบเอง อาจารย์ก็บ่นว่าไม่มีเวลาออกข้อสอบ นักเรียนบางคนก็บ่นว่าเดินทางมาสอบลำบากเพราะอยู่คนละรัฐ ครั้นจะทำการสัมภาษณ์ทีละคนก็เสียเวลามาก ข้อสอบ SAT จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยมหาวิทยาลัยต่างๆใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยก็ชอบเพราะไม่ต้องจัดสอบเอง นักเรียนก็ชอบเพราะว่าสอบ SAT วิชาเดียวก็นำไปสมัครเรียนกับมหาวิทยาลัยต่างๆได้หลายแห่ง

 

ข้อสอบ SAT มีเนื้อหาอะไร

องค์กร College Board ได้ทำการพัฒนาข้อสอบ SAT มาตลอดโดยผลจากการวิจัยสรุปได้ว่านักศึกษามหาวิทยาลัยจะต้องเป็นคนที่มีทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ และการเขียนที่ดีจึงจะประสบความสำเร็จในการเรียน องค์กร College Board เชื่อว่าข้อสอบเพียง 2 ส่วนก็สามารถวัดผลได้แล้ว (เวลาสมัครสอบ SAT เราจะได้สอบทั้งหมด) ซึ่งก็คือ Mathematics และ Reading & Writing

สิ่งที่น่าสนใจก็คือการทำข้อสอบ SAT นั้นหากตอบถูกจะได้คะแนนข้อละ 1 คะแนน (ไม่ว่าข้อนั้นจะยากหรือง่าย) แต่ถ้าตอบผิดจะถูกหักคะแนนข้อละ 0.25 คะแนน ด้วยเหตุนี้นักเรียนบางคนจึงเลือกไม่ตอบคำถามบางข้อหาก  ไม่มั่นใจเพราะแม้จะไม่ได้คะแนน แต่ก็จะไม่ถูกหักคะแนนด้วย คะแนนในส่วนนี้เรียกว่า Raw Score ทั้งนี้คะแนนเต็มของข้อสอบ SAT ในแต่ละวิชาหรือที่เรียกว่า Scaled Score นั้นคือ 800 คะแนน (รวม 3 วิชาเท่ากับ 2,400 คะแนน) ทำให้หลายๆคนงงว่ามีคำถาม 50-60 ข้อแต่ทำไมคะแนนเต็ม 800 คะแนน คำตอบก็คือคะแนน Raw Score ที่ทำได้จะถูกนำไปแปลงค่าเป็นคะแนน Scaled Score เช่น หากทำคะแนน Raw Score วิชา Critical Reading ได้ 50 คะแนนจะได้ Scaled Score ประมาณ 600 คะแนน

ล่าสุดในการสอบปี 2016 ตั้งแต่รอบสอบ March เป็นต้นไปจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบครั้งใหญ่ (ในไทยไม่มีรอบสอบนี้ แต่จะปรับในรอบถัดไปคือ May แทน) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้

1. ไม่มีการหักคะแนนข้อที่ทำผิดอีกต่อไป (ข่าวดีมาก!)
2. ในส่วน Critical Reading และ Writing จะถูกยุบรวมกันและใช้ชื่อว่า Reading & Writing
3. การสอบ Essay จะกลายเป็น Optional (ไม่บังคับสอบ)
4. การสอบ Reading & Writing จะไม่ถามศัพท์มากเหมือนแบบเดิม แต่จะใช้วิธีถามว่าคำศัพท์ที่ปรากฏในเรื่อง มีความหมายว่าอย่างไรได้บ้าง ดังนั้นแม้จะไม่รู้จักศัพท์คำนั้น แต่อาจเดาได้จากความหมายรวมที่ตีความได้จากประโยค
5. การสอบ Reading & Writing จะมีคำถามจาก Graph และ Chart ให้ตอบหลายข้อ
6. การสอบ Mathematics จะมี topic ที่เพิ่มมาจากเดิม
7. การสอบ Mathematics จะมีบางข้อที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขได้

 

ต้องทำ SAT ได้กี่คะแนนถึงสอบติด

อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าคะแนนเต็มของข้อสอบ SAT คือ 800 คะแนนต่อวิชา รวมทั้งหมดจึงเท่ากับ 2,400 คะแนน อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัย “ส่วนใหญ่” มักจะไม่พิจารณาผลในส่วนวิชา Writing ดังนั้นคะแนนเต็ม จึงลดลงเหลือ 1,600 คะแนน ซึ่งหากต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยระดับ Top 50 ของสหรัฐอเมริกา มักจะต้องทำคะแนนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1,100 คะแนนขึ้นไป ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ 5 หลักสูตรที่ต้องการคะแนนสูงในระดับนี้คือ BBA จุฬาฯ, BBA ธรรมศาสตร์, BE ธรรมศาสตร์ และ BACM (Comm Arts) จุฬาฯ นอกจากนี้บางหลักสูตรอาจต้องการผลคะแนนในวิชา Mathematics เพียงอย่างเดียว เช่น ISE จุฬาฯ (ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน) หรืออาจต้องการผลคะแนนในวิชา Critical Reading เพียงอย่างเดียว เช่น BALAC จุฬาฯ (ไม่ต่ำกว่า 400 คะแนน)

 

ทำไมหลักสูตรอินเตอร์ในประเทศไทยจึงรับผล SAT กันอย่างแพร่หลาย

มีหลายเหตุผลที่ข้อสอบ SAT เป็นที่แพร่หลายในไทย เช่น

1.   ข้อสอบ SAT ได้พัฒนามานานกว่า 100 ปีแล้วดูมีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ

2.   การใช้ข้อสอบ SAT ทำให้ไม่ต้องคิดข้อสอบขึ้นมาเอง

3.   ทำให้หลักสูตรอินเตอร์ดู “อินเตอร์” ยิ่งขึ้น (เพราะผลสอบ SAT สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก)

4.   เพื่อความสะดวกแก่ผู้สมัคร เพราะหลักสูตรอื่นๆก็มักยอมรับผล SAT กันทั้งนั้น ผู้สมัครจะได้ไม่ต้องไปสอบข้อสอบหลายๆวิชาหากอยากสมัครเรียนหลายๆที่

5.   สามารถรับผู้สมัครจากต่างชาติได้ เพราะข้อสอบ SAT นั้นสามารถสอบได้ในหลายๆประเทศทั่วโลก

 

Tags: ติวสอบ sat, ติวข้อสอบ sat, ติวเตอร์สอนพิเศษ sat, ติวตัวต่อตัว sat, ติวเตอร์ sat, ข้อสอบ sat, ติวสอบsat, รับติว sat, ติวเตอร์จุฬา sat, sat คือ, sat คืออะไร,รับติวข้อสอบ sat, ติวเตอร์ตัวต่อตัวsat, ตัวเตอร์ตามบ้าน sat, ติวเตอร์ตามบ้าน sat, ติวเตอร์ที่บ้านsat, ติวเตอร์ที่บ้าน sat, ติวเตอร์สอนพิเศษsat, ติวเตอร์จุฬาsat, ติว sat ที่ไหนดี, ครูสอนพิเศษ sat, ครูสอนพิเศษตามบ้าน sat, ครูสอนพิเศษที่บ้าน sat, หาติวเตอร์ sat, หาติวเตอร์สอนพิเศษ sat, หาครูสอนพิเศษ sat, ข้อสอบsat,ข้อสอบ พร้อมเฉลย sat, หาติวเตอร์sat, ติว sat, หาคนติว sat, ติวเตอร์จุฬา, จุฬาติวเตอร์, ครูสอนพิเศษตามบ้าน, ครูสอนพิเศษที่บ้าน, ครูสอนพิเศษ, ติวตัวต่อตัว,ติวเตอร์สอนพิเศษที่บ้าน, ติวเตอร์สอนพิเศษตามบ้าน, ติวเตอร์ตัวต่อตัว, ติวสอบ, ติวสอบเข้า

 

Share on Facebook
 
Copyright © 2013-2015 Geniuschulatutor All Rights Reserved. 
Create by  all webeasy